วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น

ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น
             วรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึงวรรณกรรมที่เป็นมุขปาฐะ (ใช้ถ่อยคำเล่าสืบต่อๆกันมา) และลายลักษณ์ (บันทึกในวัสดุต่างๆ เช่น ในใบลาน และบันทึกในกระดาษที่เรียกว่า สมุดไทย สมุดข่อย เป็นต้น) วรรณกรรมเหล่านี้ปรากฏอยู่ในท้องถิ่นภาคต่างๆ ของไทย โดยคนท้องถิ่นนั้นเป็นผู้สร้างขึ้นมา รูปแบบฉันทลักษณ์เป็นไปตามความนิยมของท้องถิ่น ภาษาที่ใช้เป็นไปตามภาษาท้องถิ่นนั้นๆ วรรณกรรมท้องถิ่นมีในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย เช่น ท้องถิ่นใต้ ท้องถิ่นเหนือ ท้องถิ่นอีสาน ท้องถิ่นภาคกลาง ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน




ลักษณะวรรณกรรมท้องถิ่น
                วรรณกรรมท้องถิ่นมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้
                1. ชาวบ้านทั่วไปเป็นผู้สร้างสรรค์ คัดลอกและเผยแพร่
                2. กวีผู้ประพันธ์ ส่วนมากคือพระภิกษุ และชาวบ้าน
                3. ภาษาที่ใช้เป็นภาษาถิ่น เป็นภาษาที่เรียบง่ายมุ่งการสื่อสารความหมายกับผู้อ่านสำนวนโวหารเป็นของท้องถิ่น
                4. เนื้อเรื่องมุ่งให้ความบันเทิงใจ บางครั้งได้สอดแทรกของพุทธศาสนา

                5. ค่านิยมยึดปรัชญาแบบชาวบ้าน



      พรทิพย์ ซังธาดา.(2538). วรรณกรรมท้องถิ่น.กรุงเทพ, สุวีริยาสาส์น, 2538.11-18หน้า.